สวัสดีครับผม ผมนายสุริยา แท่งทองหลาง

welcome to my blog

วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555




ระบบเครือข่ายและระบบอินเตอร์เน็ต

ระบบสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์

เครดิตรูป ::http://portal.in.th/eleccom57/pages/6026/

การทำงานของระบบ Network และ Internet

โครงสร้างของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
1. เครือข่ายเฉพาะที่ (Local Area Network : LAN) เป็นเครือข่ายที่มักพบเห็นกันในองค์กรโดยส่วนใหญ่ลักษณะของการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นวง LAN
จะอยู่ในพื้นที่ใกล้ ๆ กัน เช่น อยู่ภายในตึกเดียวกัน เป็นต้น
2. เครือข่ายเมือง (Metropolitan Area Network : MAN)
เป็นกลุ่มของเครือข่าย LAN ที่นำมาเชื่อมต่อกันเป็นวงที่ใหญ่ขึ้น ภายในบริเวณพื้นที่ใกล้เคียง เช่น ในเมืองเดียวกัน เป็นต้น
3. เครือข่ายบริเวณกว้าง ( Wide Area Network : WAN)
เป็นเครือข่ายที่ใหญ่ขึ้นไปอีกระดับ โดยเป็นการรวมเครือข่ายทั้ง LAN และ MAN มา เชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายเดียว ดังนั้นเครือข่ายนี้จึงครอบคลุมพื้นที่กว้าง บางครั้งครอบคลุมไปทั่วประเทศ หรือทั่วโลก อย่างเช่น อินเตอร์เน็ต ก็จัดว่าเป็นเครือข่าย WAN ประเภทหนึ่ง แต่เป็นเครือข่ายสาธารณะที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ
โครงสร้างของเครือข่าย (Network Topology) หมายถึง รูปแบบการจัดวางคอมพิวเตอร์ และการเดินสายสัญญานคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย รวมถึงหลักการไหลเวียนข้อมูลในเครือข่ายด้วย โดยแบ่งโครงสร้างเครือข่ายหลัก 4 แบบ คือ
1.
เครือข่ายแบบบัส (Bus Network) เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ด้วยสายเคเบิ้ลยาว ต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ โดยจะมีคอนเน็กเตอร์เป็น ตัวเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เข้ากับสายเคเบิ้ล ในการส่งข้อมูล จะมีคอมพิวเตอร์เพียงตัวเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลได้ในช่วงเวลา หนึ่งๆ การจัดส่งข้อมูลวิธีนี้จะต้องกำหนดวิธีการ ที่จะไม่ให้ทุกสถานีส่งข้อมูลพร้อมกัน เพราะจะทำให้ข้อมูลชนกัน วิธีการที่ใช้อาจแบ่งเวลาหรือให้แต่ละสถานีใช้ความถี่ สัญญาณที่แตกต่างกัน การเซตอัปเครื่องเครือข่ายแบบบัสนี้ทำได้ไม่ ยากเพราะคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์แต่ละชนิด ถูกเชื่อมต่อด้วยสายเคเบิ้ลเพียงเส้นเดียวโดยส่วนใหญ่เครือข่ายแบบบัส มักจะใช้ในเครือข่ายขนาดเล็ก ซึ่งอยู่ในองค์กรที่มีคอมพิวเตอร์ใช้ไม่มากนัก
2. เครือข่ายแบบดาว (Star Network) เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ เข้ากับอุปกรณ์ที่เป็น จุดศูนย์กลาง ของเครือข่าย โดยการนำสถานีต่าง ๆ มาต่อร่วมกันกับหน่วยสลับสายกลางการติดต่อสื่อสารระหว่างสถานีจะกระทำได้ ด้วยการ ติดต่อผ่านทางวงจรของหน่วนสลับสายกลางการทำงานของหน่วยสลับสายกลางจึงเป็นศูนย์กลางของการติดต่อ วงจรเชื่อมโยงระหว่างสถานีต่าง ๆ ที่ต้องการติดต่อกัน
3. เครือข่ายแบบวงแหวน (Ring Network) เป็น เครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ด้วยสายเคเบิลยาวเส้นเดียว ในลักษณะวงแหวน การรับส่งข้อมูลในเครือข่ายวงแหวน จะใช้ทิศทางเดียวเท่านั้น เมื่อคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งส่งข้อมูล มันก็จะส่งไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องถัดไป ถ้าข้อมูลที่ รับมาไม่ตรงตามที่คอมพิวเตอร์เครื่องต้นทางระบุ มันก็จะส่งผ่านไปยัง คอมพิวเตอร์เครื่องถัดไปซึ่งจะเป็นขั้นตอนอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะถึงคอมพิวเตอร์ปลายทางที่ถูกระบุตามที่อยู่ จากเครื่องต้นทาง

 1. แบบดาว เป็นแบบการต่อสายเชื่อมโยง โดยการนำสถานีต่างๆ มาต่อร่วมกันกับหน่วยสลับสายกลาง การติดต่อสื่อสารระหว่างสถานีจะกระทำได้ด้วยการติดต่อผ่านทางวงจรของหน่วย สลับสายกลาง การทำงานของหน่วยสลับสายกลางจึงคล้ายกับศูนย์กลางของการติดต่อวงจรเชื่อมโยง ระหว่างสถานีต่างๆ ที่ต้องการติดต่อกัน
 
ลักษณะการทำงาน


เป็นการเชื่อม โยงการติดต่อสื่อสารที่มีลักษณะคล้ายรูปดาว หลายแฉก โดยมีสถานีกลาง หรือฮับ เป็นจุดผ่านการติดต่อกันระหว่างทุกโหนดในเครือข่าย สถานีกลางจึงมีหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมเส้นทางการสื่อสาร ทั้งหมด นอกจากนี้สถานีกลางยังทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางคอยจัดส่งข้อมูลให้กับโหนดปลาย ทางอีกด้วย การสื่อสารภายใน เครือข่ายแบบดาว จะเป็นแบบ 2 ทิศทางโดยจะอนุญาตให้มีเพียงโหนดเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลเข้าสู่ เครือข่ายได้ จึงไม่มีโอกาสที่หลายๆ โหนดจะส่งข้อมูลเข้าสู่เครือข่ายในเวลาเดียวกัน เพื่อป้องกันการชนกันของสัญญาณข้อมูล เครือข่ายแบบดาว เป็นโทโปโลยีอีกแบบหนึ่งที่เป็นที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน


2. แบบวงแหวน เป็นแบบที่สถานีของเครือข่ายทุกสถานีจะต้องเชื่อมต่อกับเครื่องขยายสัญญาณ ของตัวเอง โดยจะมีการเชื่อมโยงเครื่องขยายสัญญาณของทุกสถานีเข้าด้วยกันเป็นวงแหวน เครื่องขยายสัญญาณเหล่านี้จะมีหน้าที่ในการรับข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ ของตัวเองหรือจากเครื่องขยายสัญญาณตัวก่อนหน้าและส่งข้อมูลต่อไปยังเครื่อง ขยายสัญญาณตัวถัดไปเรื่อย ๆ เป็นวง หากข้อมูลที่ส่งเป็นของสถานีใด เครื่องขยายสัญญาณของสถานีนั้นก็รับและส่งให้กับสถานีนั้น เครื่องขยายสัญญาณจะต้องมีการตรวจสอบข้อมูลที่ได้รับว่าเป็นของตนเองหรือไม่ ด้วย ถ้าใช่ก็รับไว้ ถ้าไม่ใช่ก็ส่งต่อไป

ลักษณะการทำงาน
เป็นการเชื่อม ต่ออุปกรณ์ต่างๆ เข้ากันเป็นวงกลม ข้อมูลข่าวสารจะถูกส่งจากโหนดหนึ่งไปยังอีกโหนดหนึ่ง วนอยู่ในเครือข่ายไปใน ทิศทางเดียวเหมือนวงแหวน (ในระบบเครือข่ายรูปวงแหวนบางระบบสามารถส่งข้อมูลได้สองทิศทาง) ในแต่ละโหนดหรือสถานี จะมีรีพีตเตอร์ประจำโหนด 1 ตัว ซึ่งจะทำหน้าที่เพิ่มเติมข่าวสารที่จำเป็นต่อการ สื่อสาร ในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล สำหรับการส่งข้อมูลออกจากโหนด และมีหน้าที่รับแพ็กเกจข้อมูลที่ไหลผ่านมาจากสายสื่อสาร เพื่อตรวจสอบว่าเป็นข้อมูลที่ส่งมาให้โหนดตนหรือไม่ ถ้าใช่ก็จะคัดลอกข้อมูลทั้งหมดนั้นส่งต่อไปให้กับโหนดของตน แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยังรีพีตเตอร์ของโหนดถัดไป

3. แบบบัสเป็น เครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ด้วยสายเคเบิ้ลยาวต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ โดยมีตัวเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เข้ากับสายเคเบิ้ลในการส่งข้อมูลจะมีคอมพิวเตอร์เพียงตัวเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลได้ในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ การจัดส่งข้อมูลวิธีนี้มีวิธีการที่จะไม่ให้ทุกสถานีส่งข้อมูลพร้อมกันเพราะจะทำให้ข้อมูลชนกันการติดตั้งเครือข่ายแบบนี้ทำได้ไม่ยากเพราะคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์แต่ละชนิดถูกเชื่อมต่อด้วยสายเคเบิ้ลเพียงเส้นเดียวโดยส่วนใหญ่เครือข่ายแบบบัสมักจะใช้ในเครือข่ายขนาดเล็ก ซึ่งอยู่ในองค์กรที่มีเครื่อง คอมพิวเตอร์ใช้ไม่มากนัก

ลักษณะการทำงาน
อุปกรณ์ทุกชิ้น หรือโหนดทุกโหนด ในเครือข่ายจะต้องเชื่อมโยงเข้ากับสายสื่อสารหลักที่เรียกว่า"บัส" (BUS) เมื่อโหนดหนึ่งต้องการจะส่งข้อมูลไปให้ยังอีกโหนด หนึ่งภายในเครือข่าย จะต้องตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่าบัสว่างหรือไม่ ถ้าหากไม่ว่างก็ไม่สามารถจะส่งข้อมูลออกไปได้ ทั้งนี้เพราะสายสื่อสารหลักมีเพียงสายเดียว ในกรณีที่มีข้อมูลวิ่งมาในบัส ข้อมูลนี้จะวิ่งผ่านโหนดต่างๆ ไปเรื่อยๆ ในขณะที่แต่ละโหนดจะคอยตรวจสอบข้อมูลที่ผ่านมาว่าเป็นของตนเองหรือไม่ หากไม่ใช่ ก็จะปล่อยให้ข้อมูลวิ่งผ่านไป แต่หากเลขที่อยู่ปลายทาง ซึ่งกำกับมากับข้อมูลตรงกับเลขที่อยู่ของตน โหนดนั้นก็จะรับข้อมูลเข้าไป

การประยุกต์ใช้งานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบเครือข่ายทำให้เกิดการสื่อสาร และการแบ่งปันการใช้ทรัพยากรระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะ หมายความรวมถึงการสื่อสาร และการแบ่งปันการใช้ข้อมูลระหว่างบุคคลด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้คืองานของระบบเครือข่าย

รูปแบบการใช้งานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบเครือข่ายแบ่งตามลักษณะการทำงาน ได้เป็น 3 ประเภทคือ
1. ระบบเครือข่ายแบบรวมศูนย์กลาง (Centrallized Networks)
2. ระบบเครือข่ายแบบ Peer-to Peer
3. ระบบเครือข่ายแบบ Client/Server

1.ระบบเครือข่ายแบบรวมศูนย์กลาง

    เป็นระบบที่มีเครื่องหลักเพียง เครื่องเดียวที่ใช้ในการประมวลผล ซึ่งจะตังอยู่ที่ศูนย์กลางและมีการเชื่อมต่อไปยังเครื่องเทอร์มินอลที่อยู่ รอบๆ โดยการเดินสายเคเบิลเชื่อมต่อกันโดยตรง เพื่อให้เครื่องเครื่องเทอร์มินอลสามารถเข้าใช้งาน โดยส่งคำสั่งต่างๆ มาประมวลผลที่เครื่องกลาง ซึ่งมักเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรมประสิทธิภาพสูง



2.ระบบเครือข่าย Peer-to-Peer

    แต่ละสถานีงานบนระบบเครือข่าย Peer-to-Peer จะมีความเท่าเทียมกันสามารถที่จะแบ่งปันทรัพยากรให้แก่กันและกันได้ เช่นการใช้เครื่องพิมพ์หรือแฟ้มข้อมูลร่วมกันในเครือข่าย ในขณะเดียวกันเครื่องแต่ละสถานีงานก็จะมีขีดความสามารถในการทำงานได้ด้วยตัว เอง (Stand Alone) คือจะต้องมีทรัพยากรภายในของตัวเองเช่น ดิสก์สำหรับเก็บข้อมูล หน่วยความจำที่เพียงพอ และมีความสามารถในการประมวลผลข้อมูลได้


3.ระบบเครือข่ายแบบ Client/Server

ระบบ Client/Server สามารถสนับสนุนให้มีเครื่องลูกข่ายได้เป็นจำนวนมาก และสามารถเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้หลายแพลตฟอร์ม ระบบนี้จะทำงานโดยมีเครื่อง Server ที่ให้บริการ เป็นศูนย์กลางอย่างน้อย 1 เครื่อง และมีการบริหารจัดการทรัพยากรต่างๆ จากส่วนกลาง ซึ่งคล้ายกับระบบเครือข่ายแบบรวมศูนย์กลางแต่สิ่งที่แตกต่างกันก็คือ เครื่องที่ทำหน้าที่ให้บริการในระบบ Client/Server นี้จะเป็นเครื่องที่มีราคาไม่แพงมาก ซึ่งอาจใช้เพียงเครื่อง ไมโครคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงในการควบคุมการให้บริการทรัพยากรต่างๆ นอกจากนี้เครื่องลูกข่ายยังจะต้องมีความสามารถในการประมวลผล และมีพื้นที่สำหรับจัดเก็บข้อมูลท้องถิ่นเป็นของตนเองอีกด้วย ระบบเครือข่ายแบบ Cleint/Server เป็นระบบที่มีความยืดหยุ่นสูง สนับสนุนการทำงานแบบ Multiprocessor สามารถเพิ่มขยายขนาดของจำนวนผู้ใช้ได้ตามต้องการ นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มจำนวนเครื่อง Servers สำหรับให้บริการต่างๆ เพื่อช่วยกระจายภาระของระบบได้ ส่วนข้อเสียของระบบนี้ก็คือ มีความยุ่งยากในการติดตั้งมากกว่าระบบ Peer-to-Peer รวมทั้งต้องการบุคลากรเพื่อการบริหารจัดการระบบโดยเฉพาะอีกด้วย

วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

ICT สำหรับครู

คอมพิวเตอร์คือ เครื่องมือหรือ อุปกรณ์ประเภทอิเล็กทอร์นิกส์ที่ทำงานด้วยคำสั่ง ชุดคำสสั่ง  หรือโปรแกรมต่างๆ สามาเชื่อมต่อ กันเป็นเครือข่าย ได้หลายแบบ ลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์คือมีศักยภายยสูงในการคำนวณประมวณผม

ส่วนประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์

-คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์  หมายถึง ส่วนที่เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์แงได้ 5 ส่วน

ส่วนที่ 1     หน่อยรับข้อมูลเข้า (Input  Unit)  เป็นวัสดุ อุปกรณ์ที่นำมาเชื่อมต่อทำหน้าที่ป้อน  สัญญาณ เข้าสูระบบ เพื่อให้คอมทำงานตามต้องการ
   แป้นอักขระ (keyboard)
   แผ่นชีดี
   ไมโคโฟน

ส่วนที่ 2 หน่อยประมวนผลกลาง (Central  Processing Unit)
              ทำหน้าที่เหกี่ยวกับการคำนวฯทั้งการตรรกะและคณิตศาสตร์

ส่วนที่3 หน่วยความจำ(Memory  Unit)
           ทำหน้าที่เก็บข้อมูลหรือคำสั่งที่ส่งมาจากหน่อยรับข้อมูลเพื่อเตรียมส่งไปหน่วยประมาณผลกลาง

ส่วนที่ 4  หน่วยแสดงผล  (Output  Unit)
         ทำหน้าที่แสดงข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผลหรือผ่านการคำนวณแล้ว

ส่วนที่ 5  อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ (Peripheral  Equipment)
            เป็นอุ)กรณที่นำมาตอพ่วงเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพในการทำงานยิ่งขั้นเช่นโมเด็ม (modem) แผงวงจรเชื่อมต่อเครือข่าย เป็นต้น


ประโยชน์ของคอม
1. มีมีความเร็วในการทำงานสูงสามารถประมวณผลคำสั่งได้รวดเร็วเพียงชั่ววินาที
2. ทำงานได้ 24 ชั่วโมง
3. มีความถูกต้องแม่นยำ  ตามโปรแกรมสั่งงานและข้อมูลที่ใช้
4. เก็บข้อมูลได้ มาก
5.สามารถโอนย้ายข้อมูลจากเครื่องไปอีกเครื่องผ่านระบบเครือข่ายได้ เร็วช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งาน
ระบบคอม
        หมายถึง  กรรมวิธีที่คอมทำการใดๆกับข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์ตามความ ประสงค์ของผู้ใช่งานให้มากที่สุด  เช่น ระบบเสียภาษี  ระบบทะเบียนราษฎร์  เป็นต้น
           การเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้สามารถเข้าถึงได้โดยการตรวจสอบจาการประมาณผลของคอมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

องประกอบของคอม

           ระบบคอมที่สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพประกอบด้วย 4 ส่วน
      1. ฮาร์ดแว(Hardware)  ส่วนที่สำคัญ มี 4 ส่วน
      2. ซอบแวร์()
      3ข้อมูล()
      4. บุคลากร ()
ส่วนที่ 1
  CPU เป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่เปรียบเสมือนสมอง
      มีหน้าที่หลักในการควบคุมหลักของคอม  ประมาณผลเปรียบเทียบข้อมูลโดยการเปลี่ยนแปลงข้อมูลดิบให้เป้นสารสนเทศที่ สามารถนำไปใช้ประโยขน์ได้ ความสามารถของ ซีพียูนั้นพิจารณาจากความเร็วของการทำงาน  การรับข้อมูลความเร็วของซีพียู ขึ้นอยู่กลับจังหวะสัญญาณนาฬกา

ส่วนที่2
จำแนก 2 ประเภท
1. หน่วยความจำหลัก (Main  Memory)
2. สำรอง
หน่วยความจำหลัก เป็นหน่วยเก็บข้อมูลคำสั้งต่างๆ ของเครื่องคอม  พื้นที่หน่วยความจำมีมากจะทำให้คอมทำงานได้ เร็วมากยิ่งขึ้น หรือ ยิ่งมี แรมสูง ยิ่ง จะทำให้เครื่องเร็วขึ้น

หน่วยประมวนผลกลาง (CPU)

หน่วยประมวณผลกลาง มี ความหมายทางด้านฮาร์ดแวร์ 2 อย่างคือ
 1.ชิบ(chip) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของ คอม
 2. ตัวกล่องเครื่องที่มี CPU บรรจุอยู่
1. หน่วยความจำหลัก
แบ่งได้ 2 ประเภท  หน่วยความจำแบบ"แรม"(RAM) และหน่วยความจำแบบ"รอม"(ROM)
1.1 แรมเป็นหน่วยความจำที่ต้องอาศัยกระแสไฟฟ้าเพื่อหารรักษาข้อมูลความจำประเภทนี้เป็นหน่วยความจำแบบลบเลือนได้ 
1.2หน่วยความจำแบบ"รอม" (ROM=Read  Onit Memory) เป็นหน่วยความจำที่ใช้เก็บโปรแกรมหรือข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

หน่วยความจำสำรอง (Secondary Memory  Unit) 

หน่วยความจำสำรองหรือหน่วยเก็บข้อมูลรองเห็นหน่วยเก็บข้อมูลได้ตลอดไปหลังจากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์
มีหน้าที่หลัก คือ
1. ใช้ในการเก็บข้อมูล  หรือสำรองข้อมูลเพื่อใช้ในอนาคต
2.ใช้เก็บโปรแกรมไว้อย่างถาวร
3.ใช้เป็นสื่อในการส่งผ่านข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปอีกเครื่องหนึ่ง

ประโยนช์ของหน่วยความจำสำรอง

   หน่วยความสำรองจะช่วยแก้ปัญหาการสูญหายของข้อมูลอันเนื่องมาจากไฟฟ้าดับ เพราะข้อมูลต่างๆที่ส่งเข้ามาประมวณผลเมื่อเรียบร้อยแร้ว  ผลลัพที่ได้จะถูกจะถูกนำไปเก็บในความจำหลักประเภทแรม  หากปิดเครื่องหรือมีปัญหาทางด้านไฟฟ้าอาจทำให้ข้อสูญหายจึงจำเป็นต้องมี หน่วยความจำรองเพื่อนำขอ้มูลไปใช้ในครั้งต่อไป

ส่วนแสดงผลข้อมูล

        ส่วนแสดงผลข้อมูล  คือส่วนที่แสดงข้อมูลจากสัญญาณไฟฟ้าในหน่วยประมวณผลกลางให้เป็นรูปแบบที่คน เราสามารถเข้าใจได้  อุปกรณที่แสดงผลข้อมูลได้แก่
จอภาพ (Monitor Scree) เครื่องพิมพ์ (Printer) เป็นต้น

บุคลากรทางคอม (PEOPLEWARE)

   บุคลากรทางคอม  หมายถึง คนที่มีความรู้ความสามารถในการใช้หรือควบคุมให้การใช้คอมพิวเตอร์เป็นอย่าง ราบรื่น อาจประกอบด้วยคนเพียงคนเดียว
 

ประเภทของบุคลากรทางคอม (PEOPLEWARE)

1.ฝ่ายวิเคราะห์และออกแบบระบบงาน
2.ฝ่ายเกี่ยวกับโปรแกรม
3.ฝ่ายปฏิบัติงานเครื่องและบริการ

บุคลากรในหน่วยงานคอม

1. หัวหน้าหน่วยคอม  (EDPMANAGER)
2. หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์และวางแผนระบบงาน(SA)
3. โปรแกรมเมอร์
4. ผู้ควบคุมเครื่องคอม (computer  operator)
5. พนักงานจัดเตรียม
 
*******************************************************************************
ซอฟแวร์  (software)
ซอบแวร์  คือ การลำดับขั้นตอนการทำงานของคำสั่งที่จะทำหน้าสั่ง คอม ให้ทำอะไรเป็นชุดของโปรแกรมหลายๆโปรแกรมนำมารวมกันให้สามารถทำงานได้ครอบ ถ้วนตามต้องการ  เรามองไม่เห็นหรือสัมผัสไม่ได้แต่สามารถจัดเก็บ  และนำมาใช่งานหรือเผยแพร่ได้ด้วยสื่อหลายชนิดเช่น  ซีดี  แฟล็ชไดร์ฟ  เป็นต้น

หน้าที่ซอบแวร์ 

    ทำหน้าที่เชื่อมระหว่างผู้ใช่แครื่องคอมพิวเตอร์และเคื่องคอม  ถ้าไม่มีซอบแวร์ก็ทำอารัยไม่ได้เลยแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท

ประเภทของซอบแวร์

         

1.ซอบแวร์ระบบ(systen  software) 
       ซอบแวร์ เป็นโปรแกรมที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาโดยเพื่อใช้จัดการกับระบบหน้าที่การ ทำงานคือดำเนินงานพื้นฐานต่างของระบบคอมเช่น  รับข้อมูลจากแผลแป้น   แล้วแปลคาวมหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจนำข้อมูลแสดงผลหน้าจอภาพ  นอกจากนี้โปรแกรมที่ใช้ในการตรวจสอบระบบเช่น Norton"s Utitlities ก็นับเป็นโปรแกรมระบบด้วยเช่นกัน
     
       หน้าที่ของซอบแวร์
1.ใช้ในการจัดการหน่อยรับเข้าและส่งออก
2.ใช้ในการจัดการหน่วยความจำ  เพื่อนำข้อมูลแผ่นบรรทึกมาบรรจุยังหน่วยความจำหลัก
3.ใช้เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช่กับเครื่องคอม เพื่อสามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น
      
     ประเภทของซอบแวร์ระบบ
1.ระบบปภิฏิบัติการ (Operating  System:os)
ชนิดของระบบปฏิบัติการ  จำแนกออกได้เป็น3ชนิดงานสามารถจำแนกออกได้ 3 ชนิด
      1.ประเภทใช้งานเดียว  (Single-tasking) ระบบปฏิบัติการประเภทนี้สั่งให้คอมทำงานได้อย่างเดียว
      2.ปะเภทใช้หลายงาน (Multi-tasking)  สามารถควบคุมการทำงานพร้อมกันหลายงานในขณะเดียวกันใช้ซอบแวร์ได้หลายชนิด
      3. ประเภทใช้งานหลายคน  (Multi-User)
2.ตัวแปลภาษา

                                2.ตัวแปลภาษา


                    การพัฒนาซอฟแวร์ต้องอาศัยซอฟแวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาระดับสูงเพื่อแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องภาษาระดับสูงมีหลายภาษาซึ่งสร้างขึ้นเพื่อให้ผู้เขียนโปรแกรมเขียนชุดคำสั่งได้ง่าย เข้าใจได้ และเพื่อให้สามารถปรับปรุงแก้ไขซอฟแวร์ในภายหลังได้ภาษาระดับสูงที่พัฒนาขึ้นทุกภาษาต้องตัวแปลภาษา  ซึ่งภาษาระดับสูงได่แก่ ภาษาBasic,Pascal,C และ ภาษาโลโก เป็นต้นนอกจากนี้ ยังมีภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันอีกมาก ได้แก่ Fortran,Cocol,และภาษาอาร์พีจี

          ซอฟแวร์ประยุกต์(Applicafion Software)
2.2ซอฟแวร์ประยุกต์(Applicafion Software)
ซอฟแวร์ที่ใช้ทำงานร่มกับคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ทำงานเฉพาะด้าน เช่น การจัดพิมพ์รายงาน การนำเสนองาน การจัดทำบัญชี ตกแต่งภาพ หรือการออกแบบเว็บไซต์ เป็นต้น

        ประเภทของซอฟแวร์ประยุกต์
แบ่งตามลักษณะการผลิต จำแนกได้เป็น2ประเภทคือ
1. ซอฟแวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้เองโดยเฉพาะ(Proprietary Software)
2. ซอฟแวร์ที่หาซื้อได้ทั่วไป(Packaged Software) มีทั้งโปรแกรมเฉพาะ(Customized Packฟge) และ โปรแกรมมาตรฐาน(Standard Package)

              ประเภทของซอฟแวร์ประยุกต์
แบ่งตามกลุ่มการใช้งาน จำแนกได้เป็น3กลุ่มใหญ่ๆดังนี้
1.กลุ่มการใช้งานทางด้านธุรกิจ(Business)
2.กลุ่มการใช้งานด้านกราฟิกและมัลติมีเดีย(Graphic and Multimedia)
3.กลุ่มการใช้งานบนเว็บ(Web and Communications)



กลุ่มการใช้งานทางด้านกราฟิกและมัลติมีเดีย
                        ซอฟแวร์กลุ่มนี้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยจัดการด้านงานกราฟิกและมัลติมีเดีย เพื่อให้งานง่ายขึ้น เช่น ใช้ตกแต่ง วาดรูป ปรับเสียง ตัดต่อภาพเคลื่อนไหว และการสร้างและออกแบบเว็บไซต์ ตัวอย่างเช่น
    โปรแกรมงานออกแบบ อาทิ Microsoft Visio Professional
    โปรแกรมตกแต่งภาพ อาทิ CorelDRAW, Adobe Photoshop
    โปรแกรมตัดต่อวิดิโอและเสียง อาทิ Adobe Premiere, Pinnacle Studio DV                          โปรแกรมสร้างสื่อมัลติมีเดีย อาทิ Adobe Authorware, Toolbook Instructor, Adobe Director
    โปรแกรมสร้างเว็บ อาทิ Adobe Flash, Adobe Dreamweaver
กลุ่มการใช้งานบนเว็บและการติดต่อสื่อสาร
กลุ่มการใช้งานบนเว็บและการติดต่อสื่อสาร
    โปรแกรมส่งข้อความด่วน (Instant Messaging) อาทิ MSN Messenger/ Windows Messenger, ICQ
     โปรแกรมสนทนาบนอินเทอร์เน็ต อาทิ PIRCH, MIRCH ความจำเป็นของการใช้ซอฟต์แวร์
       การใช้ภาษาเครื่องนี้ถึงแม้ว่าคอมพิวเตอร์จะ
เข้าใจได้ทันที แต่มนุษย์ผู้ใช้จะมีข้อยุ่งยากมากเพราะเข้าใจและจดจำได้ยาก จึงมีผู้สร้างภาษา
คอมพิวเตอร์ในรูปแบบที่เป็นตัวอักษร เป็นประโยคข้อความ ภาษาในลักษณะดังกล่าวนี้เรียกว่าภาษา
คอมพิวเตอร์ระดับสูง ภาษาระดับสูงมีอยู่มากมายบางภาษามีความเหมาะสมกับการใช้สั่งงานการ-
คำนวณทางคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ บางภาษามีความเหมาะสมไว้ใช้สั่งงานทางด้านการ
จัดการข้อมูล
     ซอฟต์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์
 เมื่อมนุษย์ต้องการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการทำงาน มนุษย์จะต้องบอกขั้นตอนวิธีการให้คอมพิวเตอร์ทราบ การที่บอกสิ่งที่มนุษย์เข้าใจให้คอมพิวเตอร์รับรู้ และทำงานได้อย่างถูกต้อง จำเป็นต้องมีสื่อกลาง ถ้าเปรียบเทียบกับชีวิตประจำวันแล้ว เรามีภาษาที่ใช้ใน- การติดต่อซึ่งกันและกัน เช่นเดียวกันถ้ามนุษย์ต้องการจะถ่ายทอดความต้องการให้คอมพิวเตอร์รับรู้ และปฏิบัติตามจะต้องมีสื่อกลางสำหรับการติดต่อเพื่อให้คอมพิวเตอร์รับรู้เราเรียกสื่อกลางนี้ว่า ภาษาคอมพิวเตอร์ ภาษาคอมพิวเตอร์ในแต่ละยุคประกอบด้วย ภาษาเครื่อง (Machine Languages)
      เนื่องจากคอมพิวเตอร์ทำงานด้วยสัญญาณทางไฟฟ้า ใช้แทนด้วยตัวเลข 0 และ 1 ได้ ผู้ออกแบบคอมพิวเตอร์ใช้ตัวเลข 0 และ 1 นี้เป็นรหัสแทนคำสั่งในการสั่งงานคอมพิวเตอร์ รหัสแทนข้อมูลและคำสั่งโดยใช้ระบบเลขฐานสองนี้ คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ เราเรียกเลขฐานสองที่ประกอบกันเป็นชุดคำสั่งและใช้สั่งงาน
        คอมพิวเตอร์ว่าภาษาเครื่อง   
  การใช้ภาษาเครื่องนี้ถึงแม้คอมพิวเตอร์จะเข้าใจได้ทันทีแต่มนุษย์ผู้ใช้จะมีข้อยุ่งยากมาก เพราะเข้าใจและจดจำได้ยาก จึงมีผู้สร้างภาษาคอมพิวเตอร์ในรูปแบบอื่นที่เป็นตัวอักษร
      ภาษาแอสเซมบลี (Assembly Languages)
      เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 2 ถัดจากภาษาเครื่อง ภาษาแอสเซมบลีช่วยลดความยุ่งยากลงในการเขียนโปรแกรมเพื่อติดต่อกับคอมพิวเตอร์ 
    แต่อย่างไรก็ตามภาษาแอสเซมบลีก็ยังมีความใกล้เคียงภาษาเครื่องอยู่มาก และจำเป็นต้องใช้ตัวแปลภาษาที่เรียกว่าแอสเซมเบลอร์(Assembler) เพื่อแปลชุดภาษาแอสเซมบลีให้เป็นภาษาเครื่อง

   ภาษาระดับสูง (High-Level Languages)
     เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 3 เริ่มมีการใช้
ชุดคำสั่งที่เรียกว่า Statements ที่มีลักษณะเป็นประโยคภาษาอังกฤษ ทำให้ผู้ที่เขียนโปรแกรม
สามารถเข้าใจชุดคำสั่งเพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานง่ายขึ้น ผู้คนทั่วไปสามารถเรียนรู้และเขียน
โปรแกรมได้ง่ายขึ้น เนื่องจากภาษาระดับสูงใกล้เคียงภาษามนุษย์ ตัวแปลภาษาระดับสูงเพื่อให้
เป็นภาษาเครื่องนั้นมีอยู่ 2 ชนิด ด้วยกัน คือ 
คอมไพเลอร์(Compiler) และ อินเทอร์พรีเตอร์  ((Interpreter)
คอมไพเลอร์ จะทำการแปลโปรแกรมที่เขียนเป็นภาษาระดับสูงทั้งโปรแกรมให้เป็น
ภาษาเครื่องก่อน แล้วจึงให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามภาษาเครื่องนั้น
อินเทอร์พรีเตอร์ จะทำการแปลทีละคำสั่ง แล้วให้คอมพิวเตอร์ทำตามคำสั่งนั้น เมื่อทำเสร็จ
แล้วจึงมาทำการแปลคำสั่งลำดับต่อไป ข้อแตกต่างระหว่างคอมไพเลอร์กับอินเทอร์พรี
เตอร์จึงอยู่ที่การแปลทั้งโปรแกรมหรือแปลทีละคำสั่ง